ใบความรู้ที่ 2

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

 อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense – DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบน มาตรฐานเดียวกัน

ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยา ศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation – NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ http://www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)

ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

 

เวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wide Web) 

 

หมาย ถึง เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม หรือมัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก

จุดเริ่มต้นของเวิลด์ไวด์เว็บ
ปี ค.ศ. 1990 ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งสถาบัน CERN (Center
European pour la Recherche Nucleaire) แห่งกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
(เวบไซต์ของ CERN ติดต่อที่ http://www.cern.ch)ได้คิดค้นวิธีการถ่ายทอดเอกสารข้อมูลที่อยู่ในแบบไฮ เปอร์เท็กซ์ ( hypertext)ซึ่งเป็นเอกสารที่นำเสนอทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในแต่ละหน้าสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ มานำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์นี้ เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ เรียกว่าภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
เอกสารข้อมูลที่เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML นี้ ต้องใช้โปรโตคอลแบบพิเศษ ชื่อ HTTP
(Hypertext Transport Protocol) ช่วยในการสื่อสาร และรับส่งข้อมูล
ขณะเรียกใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ในระบบอินเทอร์เน็ต ในปี ค.ศ. 1993 สถาบัน NCSA (National Center for Supercomputing Application)
แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้พัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า เว็บบราวเซอร์ (web browser) ชื่อMosaic ขึ้นมา ทำหน้าที่แปลคำสั่งและข้อมูลที่อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ให้แสดงที่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้อย่างสวยงาม น่าดู
อย่างที่เราพบเห็นบนในปัจจุบัน โปรแกรม Mosaic ถูกแจกจ่าย
ออกไปให้ผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จืงได้กลายมาเป็น โปรแกรมยอดนิยมไปทันที
หลังจากนั้นมา บริษัทซอฟแวร์ชั้นนำต่าง ๆ จึงเริ่มพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์อื่น ๆ
ออกจำหน่ายจ่ายแจก แก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกหาโปรแกรม เว็บบราวเซอร์ มาใช้งานได้หลายโปรแกรม
นอกจากจะใช้บริการดูข้อมูลจากเวิลด์ไวด์เว็บ แล้ว หลายโปรแกรมยังมีความสามารถอื่น ๆ ด้วย เช่น บริการสื่อสารด้วย E-mail การค้นข้อมูลแบบ Gopher การถ่ายโอนไฟล์ด้วย ftp เป็นต้น โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ได้เปลี่ยนโฉมหน้า การใช้ บริการอินเทอร์เน็ตในแบบเก่า ๆ ที่มีแต่ตัวอักษร ไปเป็นหน้าจอที่มีชีวิตชีวาด้วยสีสันและรูปภาพ
และทำให้ผู้สามารถเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่าเดิมมาก

  แหล่งอ้างอิง = http://www.modify.in.th

เว็บไซต์ (website)

           หมาย ถึง เว็บไซต์ (website, web site, หรือ Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

ในภาษาอังกฤษ มีการสะกดคำว่า เว็บไซต์หลายแบบ ตั้งแต่ Web site, website และ web site เริ่มแรกสุดคำว่าเว็บไซต์นั้น สะกดด้วยการแยกคำ และใช้ตัว W พิมพ์ใหญ่ เป็น Web site เนื่องจากคำว่า “Web” เป็นคำนามเฉพาะ ย่อมาจากคำว่า “World Wide Web” ดังนั้นจึงใช้คำว่า “Web site” ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปตามสื่อมวลชน และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ และภายหลังได้มี คำว่า “web site” และ “website” เกิดขึ้นตามมา

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์
กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ ว่าจะจัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร เช่นท่องเที่ยว บันเทิง เป็นต้น
กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อที่จะได้จัดโทนสี รูปภาพ กราฟิก หน้าตาของเว็บเพจให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
เตรียมแหล่งข้อมูล เพื่อที่จะได้นำเนื้อหาสาระมานำเสนอได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์
เตรียมทักษะหรือบุคลากร เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามากๆ ก็จำเป็นต้องมีบุลลากรเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ กราฟิกดีไซน์ ทีมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เป็นต้น
เตรียมทรัพยากรต่าง ๆ เท่าที่มีความจำเป็น เช่น โปรแกรมต่างๆ ทั้งในด้านระบบฐานข้อมูล และมัลติมีเดีย โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง = http://seashore.buu.ac.th

เว็บเพจ( webpage)

เว็บเพจ (อังกฤษ: webpage, web page) หรือ หน้าเว็บ หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งานโดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับ เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วยโปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้นโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น

แหล่งอ้างอิงhttp://school.obec.go.th

เว็บเบราว์เซอร์( Web Browser)

เว็บเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

1.Internet Explorer

2. Mozilla Firefox

3.Google Chrome

4.Safari

 แหล่งอ้างอิง = http://www.mindph.com

 

HTML

  HTML ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจ

ใช้อะไรในการเขียน HTML
การสร้างไฟล์   HTML  เราสามารถสร้างจาก Text  Editor เช่นจาก Notepad หรือ  Wordpad ก็ได้แต่สำหรับการ Save ไฟล์ เราจำเป็นต้องใส่  ” ชื่อไฟล์ . html ”   ซึ่งถ้าหากคุณไม่ใส่  ” ” จะ กลายเป็นไฟล์   .TXT แทน  ในปัจจุบัน มีโปรแกรมต่าง ๆ มากมายที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหารเขียนโค้ด html เช่นโปรแกรม Macromedia Dreamweaver ปัจจุบันเวอร์ชั่น CS4 แล้ว มีความง่ายและสะดวกในการสร้าง html ขึ้นมา ด้วย Tool ต่าง ๆ ของโปรแกรมครับ

โครงสร้างพื้นฐาน HTML
โครงสร้าง HTML ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ
1. ส่วนหัว ( Head )
2. ส่วนเนื้อหา ( Body )
โดย CODE จะเป็นแบบนี้ครับ

 

แหล่งอ่างอิง = http://school.obec.go.th

 

ใส่ความเห็น